ศึกษาสภาวการณ์การลาคลอดของแม่
-
ชื่อเรื่อง:
ศึกษาสภาวการณ์การลาคลอดของแม่ผู้แต่ง:
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:
ทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามในแม่จำนวน 400 คน แบ่งเป็นแม่ที่ทำงาน 200 คนและแม่ที่ไม่ได้ทำงาน 200 คน ในแม่ที่มีนายจ้าง (n = 171) มีแม่ที่ได้รับสิทธิลาคลอด 90 วันขึ้นไปและได้รับเงินเดือนระหว่างลาคลอดร้อยละ 77.78 (n = 133) ถ้าไม่คำนึงถึงการได้รับเงินเดือน หน่วยงานมีการกำหนดจำนวนวันลาคลอดชัดเจนร้อยละ 86 (n = 147) ในแม่กลุ่มนี้ (n = 147) ได้รับจำนวนวันลาคลอด 90 วัน ร้อยละ 91.84 น้อยกว่า 90 วัน ร้อยละ 6.8 และมากกว่า 90 วัน ร้อยละ 1.36 และในจำนวนนี้มีแม่ใช้สิทธิลาคลอดไม่ครบ ร้อยละ 30.6 โดยมีสาเหตุเนื่องจาก ต้องการได้เงินเพิ่มหรือไม่ได้รับเงินเดือนร้อยละ 52.1 หน่วยงานให้ไปทำงานก่อนเนื่องจากขาดคน ร้อยละ 22.9 อยากไปทำงาน ร้อยละ 16.7 จะถูกตัดโบนัสหรือไม่ขึ้นเงินเดือน ร้อยละ 8.3 ในแม่ที่ทำงานเอกชน (n = 131) ไม่ได้รับเงินเดือนขณะลาคลอด ร้อยละ 20.6 ระยะเวลาหยุดงานหลังคลอดมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการให้บุตรกินนมแม่โดยยังไม่ให้นมผสมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.0001) แม่ที่หยุดงานหลังคลอด 0-30 วัน ให้บุตรกินนมแม่โดยยังไม่ให้นมผสมระยะเวลาเฉลี่ย 1.28 เดือน แม่ที่หยุดงานหลังคลอด 31-60 วัน ให้ระยะเวลาเฉลี่ย 1.71 เดือน แม่ที่หยุดงานหลังคลอด 61-90 วัน ให้ระยะเวลาเฉลี่ย 2.66 เดือน มารดาที่หยุดงานหลังคลอด 91-180 วัน ให้ระยะเวลาเฉลี่ย 3.63 เดือน ในช่วง 6 เดือนแรก ระยะเวลาให้บุตรกินนมแม่โดยยังไม่ให้นมผสมในแม่ที่ทำงานกับไม่ได้ทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P value < 0.05) โดยที่มี 95% Confidence interval เป็น -2.23 ถึง -1.46 แม่ที่ทำงานให้บุตรกินนมแม่เฉลี่ย 2.2 เดือน แม่ที่ไม่ได้ทำงานให้บุตรกินนมแม่เฉลี่ย 4 เดือนรายละเอียดเพิ่มเติม:
ที่มา : ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. 2548. รายงานวิจัยนมแม่ ปี 2548. กรุงเทพฯ : ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. หน้า 17-26.หน่วยงานที่สนับสนุน:
สมาคมแม่บ้านสาธารณสุข
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)หัวเรื่องมาตรฐาน:
คำสำคัญ:
สิทธิในการใช้งาน:
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)รูปแบบแฟ้มข้อมูล:
application/pdfMetadata
-
QSNICH-research-สภาวการณ์การลาคลอดของแม่.pdf